ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นโรงเรียนสาธิตในระดับมัธยมศึกษา ในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 โดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

โรงเรียนก่อตั้งขึ้นตามดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายหลังจากการสร้างวัดประชาธิปไตย (ปัจจุบันคือ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร) เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ดำเนินมาแล้วสิบสองปี ตามแนวคิดในการสร้างโรงเรียนคู่กับวัด เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชนตามหลัก "บ-ว-ร" (บ้าน - วัด - โรงเรียน) โดยใช้ที่ดินของวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารส่วนหนึ่ง เป็นที่ตั้งสถานศึกษาจนถึงปัจจุบัน อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับวิทยาลัยการฝึกหัดครู ภายในพื้นที่โรงเรียนมีอาคารเรียนหลัก 3 อาคาร โดยอาคารแรก (อาคารสาธิต 1) สร้างขึ้นพร้อมโรงเรียนในปี พ.ศ. 2496 และนอกจากนี้ยังมี ศูนย์ฝึกกีฬา สำหรับ บาสเกตบอล เทนนิส เปตอง และกีฬาอื่นๆ

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนคือ พระพิฆเนศ และ พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 9 โดยสีประจำโรงเรียนคือ เหลือง-ชมพู และต้นไม้ประจำโรงเรียนคือต้นสน

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้รับการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับคุณภาพในระดับดีมากใน ด้านผู้เรียน ด้านผู้บริหาร และด้านครู

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ" สร้างขึ้นจากการปรึกษาหารือกันระหว่างจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และพลอากาศเอกหลวงชิด วุฒากาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น พร้อมกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ขณะที่ท่านยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก ที่สนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลในการสร้างโรงเรียนคู่กับวัด เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชนตามหลัก "บ-ว-ร" หรือ บ้าน - วัด - โรงเรียน โดยมีความประสงค์จะให้เยาวชนที่อยู่ในอำเภอบางเขนได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามาเรียนในจังหวัดพระนคร โดยเริ่มก่อสร้างหลังจากการก่อสร้างวัดประชาธิปไตย หรือ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารในปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 12 ปี

โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ เริ่มเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดแผนกโรงเรียนส่วนกลาง กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา (ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ในระยะแรกนั้น โรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีอาจารย์สุวรรณ วิณวันก์ เป็นครูใหญ่ท่านแรก มีครูทั้งหมด 5 คน นักเรียน 50 คน และได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น โดยในปีการศึกษา 2503 มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 30 ห้อง ครู 46 คน นักเรียน 1,197 คน และมีจำนวนนักเรียนที่จบหลักสูตรชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ เป็นรุ่นแรก จำนวน 29 คน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติที่ดีมากโรงเรียนหนึ่งในสมัยนั้น

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้โอนมาเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตของวิทยาลัยครูพระนคร สังกัดกรมการฝึกหัดครู และใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ แผนกสาธิตวิทยาลัยครูพระนคร" โดยมีอาจารย์นิรมล ศังขฤกษ์ ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกสาธิตฯ และมี อาจารย์ประเยาว์ ศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการหญิงคนแรกของวิทยาลัยครูพระนคร ดำรงตำแหน่งรักษาการอาจารย์ใหญ่ พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญ "พระพิฆเนศ" เป็นตราประจำสถาบัน ในปีการศึกษานั้น ได้เปิดทำการสอนตามปกติ โดยมีชั้นเรียนตั้งแต่ชั้น ม.ศ. 1 ถึง ม.ศ. 5

ในปี พ.ศ. 2517 คุณหญิงพึงใจ สินธุวานนท์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูพระนครในขณะนั้น ได้ปรับปรุงสายงานของวิทยาลัยครูพระนครขึ้นใหม่ โดยให้โรงเรียนสาธิตย้ายไปสังกัดอยู่ในภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะวิชาครุศาสตร์ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ ฝ่ายสาธิตวิทยาลัยครูพระนคร" หลังจากนั้น อีก 2 ปี โรงเรียนได้แยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระที่ขึ้นตรงต่ออธิการบดีของวิทยาลัยครูพระนคร พร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ วิทยาลัยครูพระนคร" ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นเป็นโรงเรียนสาธิตฯอย่างเต็มตัว

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรา พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538ขึ้นไว้ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 4ก ลงวันที่ 24 มกราคม 2538 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นเหตุให้วิทยาลัยครูได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นสถาบันราชภัฏ และโรงเรียนซึ่งสังกัดในวิทยาลัยครูพระนคร ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ สถาบันราชภัฏพระนคร" นอกจากนี้ โรงเรียนฯในฐานะหน่วยงานของสถาบันราชภัฏพระนคร จึงได้อัญเชิญ "พระที่นั่งอัฐทิศ" พระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นตราประจำสถาบันนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ขึ้นไว้ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ด้วยเหตุนี้โรงเรียนฯซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร” ตราบจนถึงปัจจุบัน โดยมีพระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหารรูปปัจจุบัน เป็นองค์อุปการีโรงเรียน

1. อาคารสาธิต 1 (อาคาร 31) หรือ ที่เรียกกันว่า "ตึกเก่า" เป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการก่อตั้งโรงเรียน โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 3 เป็นประธานการจัดสร้างและวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 แล้วจึงลงมือสร้างในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2496 โดยบริษัทบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา (บ.ส.อ.) ทำพิธีเปิดโดยพลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น 22 ห้องเรียน ภายในอาคารปัจจุบันประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ดังนี้

2. อาคารสาธิต 2 (อาคาร 32) เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 18 ห้องเรียน ปรับปรุงอาคารครั้งล่าสุดโดยซ่อมแซมโครงสร้าง และทาสีอาคารใหม่ ในปีการศึกษา 2551 ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้

3. อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 49) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2548 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2550 ทำพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551เป็นอาคารอเนกประสงค์ 6 ชั้น ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการในกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ดังนี้

นอกจากนี้โรงเรียนยังถูกใช้เป็นฉากในภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และรวมถึงมิวสิควีดีโอหลายชิ้น เช่น มอ ๘, แก๊งชะนีกับอีแอบ, เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน ตอน เสียงตามสาย, ภาพยนตร์สั้นโตไปไม่โกง ตอน ผู้ตัดสิน, ละคร เรื่อง คู่กรรม , ละคร เรื่อง ทองเนื้อเก้า , ละครซิทคอม จุดนัดภพ , มิวสิควีดีโอเพลง ยาวนานเพียงใด ของ SIX C.E , มิวสิควีดีโอเพลง เธอยัง ของ โปเตโต้ , มิวสิควีดีโอเพลง แชร์ ของ โปเตโต้ , มิวสิควีดีโอเพลง กรุณาพูดดังๆ ของ ซีต้า ซาไลย์ เป็นต้น

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สืบเนื่องมาจากพระองค์ได้พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" ให้เป็นชื่อของวิทยาลัยครูทั่วประเทศ (มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเวลาต่อมา) พร้อมทั้งพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังนั้น โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จึงได้ใช้ตราสัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนตั้งแต่นั้นมา

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงรีสองวงล้อมรอบพระที่นั่งอัฐทิศ ภายในตราประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายในวงรีด้านบนมีท่อนบนจารึกเป็นตัวอักษรภาษาไทยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และท่อนล่างจารึกเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า PHRANAKHON RAJABHAT UNIVERSITY โดยตัวอักษรไทยภายในสัญลักษณ์นั้นใช้อักษรโรมันแบบ Gothic หรือ ตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English และอักษรขอม เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบตัวอักษร ให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัย และแสดงถึงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

พระพิฆเนศวร (ภาษาสันสกฤต คเณศ ) หรือ พระพิฆเนศ หรือพระวิฆเณศวร หรือพระพิฆเณศ หรือพระคเณศ หรือคณปติ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในเรื่องศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง ลักษณะของพระพิฆเนศวร มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว มีสี่กร พระหัตถ์หน้าขวาถืองาช้าง พระหัตถ์หน้าซ้ายถือขันน้ำมนต์ เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์ พระหัตถ์หลังขวาถือตรี พระหัตถ์หลังซ้ายถือบาตร(บ่วง)พาหนะคือหนู ประทับอยู่ภายใต้วงกลมด้านในสีเหลือง วงกลมด้านนอกสีชมพูมีชื่อโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โรงเรียนได้อัญเชิญตราพระพิฆเนศวร กลับมาเป็นตราประจำสถาบันอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2552 ภายหลังจากวิทยาลัยครูพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "สถาบันราชภัฏพระนคร" และมีการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี พ.ศ. 2535

ต้นสน หมายถึง ความเฉียบแหลมทางสติปัญญาของนักเรียนสาธิตฯ ความอ่อนน้อมแต่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคทั้งปวง แม้ในปัจจุบันโรงเรียนจะไม่มีต้นสนแล้ว แต่ยังคงให้เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนอยู่จนถึงปัจจุบัน ในวัน "อำลา อาลัย" ยังใช้กิ่งสนผูกกับดินสอมอบให้เป็นของที่ระลึกแก่พี่ๆ ม.6 เพื่อนำดินสอแท่งนั้นไปใช้ทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย และไว้เป็นที่ระลึกถึงความทรงจำดีๆที่เกิดขึ้น ณ "รั้ว พ.ม." แห่งนี้

เมื่อรวมความแล้วจะได้ สีเหลือง-ชมพู คือ ความรักในการสร้างคุณงามความดี ความรักในการประพฤติปฏิบัติชอบ ความหมายของสีประจำโรงเรียนถือได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตของนักเรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุตามจุดประสงค์ของสุภาษิตโรงเรียนที่ว่า "สุสิกฺโข ลภเต ปญฺญํ - ผู้ศึกษาดี ย่อมมีปัญญา"

โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชั้นละ 4 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 3 ห้องเรียน สามารถแบ่งออกได้คือ

ทุกห้องเรียนดำเนินการเรียนด้วยหลักสูตรพิเศษ "Intensive English Program" อันเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความสามารถในภาษาอังกฤษแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษา 5 คาบต่อสัปดาห์ และชั่วโมงภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย 1 คาบต่อสัปดาห์ เพื่อส่งเสริมให้มีทักษะความเป็นเลิศในภาษาอังกฤษเพื่อนำใปใช้จริงในอนาคต

สำหรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. ประเภทโควตาพิเศษ คัดเลือกจากนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียงของโรงเรียนมัธยมสาธิตฯ (กรุงเทพมหานคร, จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี บางส่วน) โรงเรียนละ 2 คน ดำเนินการสอบคัดเลือกด้วยชุดทดสอบทางวิชาการของโรงเรียนฯอีกครั้ง เพื่อให้ได้นักเรียนระบบโควตาพิเศษเพียง 30 คนต่อปีการศึกษา การคัดเลือกประเภทนี้จะรับเฉพาะการเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (โครงการ Intensive English Program) เท่านั้น

โดยสอบประเภทนี้จะประกาศรับสมัครในช่วงเดือนธันวาคม และจัดสอบในช่วงเดือนมกราคม ของทุกปีการศึกษา

2. ประเภทคัดเลือกทั่วไป เป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบปกติ ดำเนินการสอบคัดเลือกด้วยชุดทดสอบทางวิชาการของโรงเรียนฯ โดยแบ่งจำนวนการรับนักเรียนดังนี้

โดยสอบประเภทนี้จะประกาศรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม และจัดสอบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีการศึกษา

โรงเรียนมีกิจกรรมต่างๆที่พัฒนาทักษะทางวิชาการและกิจกรรมเสริมศักยภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ดังต่อไปนี้

กีฬาคณะสีจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ประมาณปลายเดือนตุลาคมของทุกปีการศึกษา คณะสีของโรงเรียนเป็นชื่อของพรรณไม้ไทย ใช้วิธีแบ่งนักเรียน มัธยมต้นที่เข้าใหม่ เข้าสู่คณะสีนั้นๆด้วยการจับสลาก โดยจะต้องจับสลากเปลี่ยนคณะสีใหม่อีกครั้งเมื่อขึ้น มัธยมปลาย มีทั้งหมด 4 คณะสี อันประกอบด้วย

ในกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนเกิดความมีส่วนร่วมในการฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ ตลอดจนก่อให้เกิดความสนุกสนานระหว่างกลุ่มเพื่อนฝูง สร้างความสามัคคีกลมเกลียวระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง และส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อพลานามัยที่สมบูรณ์

กิจกรรมชมรมและชุมนุมต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามความสนใจของตน ภายใต้แนวคิดและเหตุผลเชิงสร้างสรรค์ สร้างความรู้จัก และพบปะกันมากยิ่งขึ้น โดยภายในโรงเรียนฯ ได้มีการก่อตั้งชุมนุมขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามความสนใจของนักเรียนที่มีหลากหลาย อาทิเช่น ภาษา กีฬา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม คหกรรม คอมพิวเตอร์ ศิลปศึกษา เป็นต้น โดยนักเรียนสามารถเลือกชมรมได้ตามความสนใจของนักเรียน ไม่จำกัดชั้นปี โดยมีชุมนุมให้นักเรียนเลือกมากกว่า 30 ชุมนุม

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยรุ่นพี่ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีก่อนๆได้ โดยมีการแนะแนวสาขาการเรียนในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจ เพื่อให้น้องเตรียมพร้อมสู่การสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา และเทศกาลวันสำคัญต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมแห่เทียนพรรษา, กิจกรรมค่ายพุทธบุตร ณ วัดพระศรีมหาธาตุ และกิจกรรมทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา เพื่อนำเงินที่ได้จากการทำบุญมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

พิธีประดับเข็มพระราชลัญจกรเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อประดับเข็มให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าปีการศึกษาใหม่ทุกคน ในวันไหว้ครูของโรงเรียน เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้สถาปนานาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" และความภาคภูมิใจในความเป็นนักเรียนสาธิตราชภัฏพระนคร ที่ได้รับการขนานนามว่า "ข้าพระราชลัญจกร ข้าของแผ่นดิน" โดยติดเข็มพระราชลัญจกรนั้นสำหรับนักเรียนชายจะติดหน้าอกเบื้องซ้ายของเสื้อนักเรียน เหนือชื่อและนามสกุล และนักเรียนหญิงจะติดบนเนคไท

พิธีถวายพวงมาลาและราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 จัดขึ้นในวันปิยมหาราช เพื่อถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ในปี พ.ศ. 2435 อันเป็นฐานรากของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครในปัจจุบัน โดยโรงเรียนมีความเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมาตลอด โดยพิธีจัดขึ้น ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าสำนักอธิการบดี

เป็นการแสดงผลงานทางวิชาการด้านต่างๆ ของอาจารย์และนักเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนเป็นเวทีกลาง ในการแลกเปลี่ยนทรรศนะ และแสดงความคิดเห็นแนวคิดทางวิชาการต่างๆ โดยให้บุคคลภายในและภายนอกโรงเรียนฯ ได้เล็งเห็นถึงความสามารถของบุคลากรของโรงเรียน โดยกำหนดวันจัดงานในแต่ละปีไม่ได้กำหนดตายตัว โดยอาจจัดขึ้นในช่วงภาคเรียนที่ 1 หรือ ภาคเรียนที่ 2 ตามโอกาสและความเหมาะสม

จัดขึ้นทุกวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี มีกิจกรรมบำเพ็ญกุศลทางศาสนา และกิจกรรมมอบรางวัลเกียรติคุณแก่ผู้อุปการะคุณต่อโรงเรียน

งานสายสัมพันธ์ พ.ม. เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของศิษย์เก่า พ.ม. ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบัน อีกทั้งเป็นงานเลี้ยงฉลองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เหน็ดเหนื่อยจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยลักษณะเป็นงานเลี้ยงโต๊ะจีน ภายในงานมีกิจกรรมการแสดงของนักเรียนและอาจารย์รุ่นปัจจุบัน การบรรเลงดนตรี การมอบรางวัลแก่ศิษย์เก่าดีเด่นที่สร้างคุณประโยชน์และชื่อเสียง ต่อโรงเรียนและประเทศชาติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและเกมส์ต่างๆที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยงานจะจัดขึ้นราวเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี ณ สนามฟุตบอลโรงเรียน

สาธิตราชภัฏสัมพันธ์เป็นการแข่งขันกีฬา การประกวดขบวนพาเหรด กองเชียร์ และผู้นำเชียร์ระหว่างโรงเรียนมัธยมสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีงามทั้ง 9 สถาบันการศึกษา โดยจะจัดขึ้นทุกปีการศึกษาราวเดือนธันวาคมของทุกปี ปัจจุบันจัดการแข่งขันมาแล้ว 22 ครั้ง ซึ่งโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เคยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันถึง 3 ครั้ง ได้แก่ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 11 และครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 19 ซึ่งได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่อการแข่งขันว่า "พระศรีเกมส์" ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (จันทรุเบกษา) และสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีประตูทางเข้าออก 2 เส้นทาง การเดินทางมายังโรงเรียนสามารถเดินทางมาได้ ดังนี้

1. ประตูถนนแจ้งวัฒนะ (ประตูหลัก) รถโดยสารประจำทางที่ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ของ ขสมก. ได้แก่ สาย 52, 59 , 95 ก, 150(รถเอกชนร่วมบริการ), 356(รถร่วม), 524(รถเอกชนร่วมบริการ), 554 และรถประจำทางสวัสดิการกองทัพอากาศ (ปากเกร็ด - ดอนเมือง - สะพานใหม่)

2. ประตูหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รถโดยสารประจำทางที่ผ่านถนนพหลโยธิน เขตบางเขน (วัดพระศรีมหาธาตุ) ของ ขสมก. ได้แก่ สาย 26, 29, 34, 39, 59, 63, 95, 107, 114, 126, 129, 185, 503, 520, 522 และ 543 โดยลงที่ป้ายวัดพระศรีมหาธาตุ ผ่านเข้าไปทางด้านหลังวัดพระศรีมหาธาตุเพื่อเข้าสู่ประตูด้านหลังที่เชื่อมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (บริเวณหอพักนักศึกษา พระนครนิเวศ)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301